Tuesday, 2 October 2012

เพลงประจำศิลปากร





ตราประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร พระพิฆเนศวร เป็นเทพเจ้าแห่งศิลปวิทยาการและการประพันธ์ พระหัตถ์ขวาบนถือตรีศูล พระหัตถ์ขวาล่างถืองาช้าง พระหัตถ์ซ้ายบนถือปาศะ(เชือก) พระหัตถ์ซ้ายล่างถือครอบน้ำ ประทับบนลวดลายกนก ภายใต้มีอักษรว่า "มหาวิทยาลัยศิลปากร"



ศิลปากรนิยม

* มะมาเรามารื่นเริง มะมาเรามาบันเทิง มะมาเรามารื่นเริง เชิงชื่นรื่นสำราญ *

ยามเรียน เราเรียนเพราะรัก  เราฝึกหัดเพื่อชำนาญ

ยามพัก เราแสนสนุก  เราเป็นสุขกับผลของงาน

ศิลปะ... แสนบริสุทธิ์  ผุดผ่อง... ดั่งแสงจันทร์  ปราศไฝ... และไร้ฝ้า  เปรียบจันทรา..คราไร้หมอกควัน 

ศิลปินอยู่เพื่ออะไร  ยืนยงเพื่อจรรโลงสิ่งไหน  แต่ศิลปินก็ภาคภูมิในใจ  ที่ได้สร้างเพื่อมนุษย์ธรรม

ดูสิ... สวยแท้ปานใด  ศิลปะ... ภพเลิศไฉไล  กลิ่นสี... และกาวแป้ง  ดุจดังแรง ส่งเสริมใจ

มนุษย์เราหากรักศิลป์  สิ่งซึ่ง... งามวิไล  มวลมนุษย์สุดสดชื่น  เริงรื่นศิวิไลซ์

( ซ้ำ *)

จาก

http://www.websuntaraporn.com/suntaraporn/lyric/postlyric.asp?GID=1960


เพลง นี้ไม่ปรากฎชื่อว่าใครแต่ง แต่ที่มาของเพลงนี้มาจากศิษย์ รุ่นแรกๆของท่านอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้แอบฟังอาจารย์ร้องเพลงในระหว่างทำงานในห้องแล้วพยายามจำเอามาหัดร้อง ซึ่งนั้นก็คือเพลง ซานต้า ลูเซีย เป็นเพลงภาษาอิตาเลียน แต่ด้วยความที่ร้องสำเนียงไม่ชัดเจนเลยทำให้เกิดมีการแต่งเป็นบทเพลงภาษาไทย แล้วร้องต่อจากเพลงซานต้า ลูเซ๊ย ต่อมาทั้งสองเพลงก็เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร และเป็นเพลงประจำคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ สาเหตุที่เป็นเพลงประจำคณะและเพลงประจำมหาวิทยาลัยด้วยเพราะเริ่มแรกก่อตั้ง มหาวิทยาลัย ก็มีเพียงคณะเดียวเท่านั้นคือ คณะจิตรกรรม ประติมากรรม เมือมีการก่อตั้งคณะอื่นๆเพิ่มก็ยึดถือเพลงนี้เป็นเพลงมหาวิทยาลัยสืบมาถึงทุกวันนี้
ส่วนเพลงลานจันทน์รัญจวน หรือ เพลงกลิ่นแก้ว ไม่ใช่เพลงประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร อาจจะมีส่วนแค่ชื่อที่สอดคล้องกันเท่านั้น ลานจันทร์ มีอยู่ที่หน้าคณะจิตรกรรม เพราะมีต้นต้นจันทน์ ปัจจุบันนี้ นักศึกษาจะเรียกว่า ลานอาจารย์ศิลป์ สวนแก้วก็มีเป็นส่วนหนึ่งของวังท่าพระ แต่เนื้อเพลงทั้งสองไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับศิลปากรเหมือนเพลงมหาวิทยาลัยอื่นๆ
อีกแง่มุมหนึ่ง อาจจะเป็นไปได้ว่าศิลปินไม่สามารถแต่งเพลงให้ศิลปินด้วยกันได้ เลยทำให้ศิลปากรไม่มีเพลงที่เป็นของสุนทราภรณ์ เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยเหมือนสถาบันอื่นๆ เพื่อเป็นที่ยืนยัน เพราะผมตั้งแต่เป็นนักศึกษาจนจบออกมาพยายามหาเพลงที่คณะสุนทราภรณ์แต่งให้ ยังไม่เคยได้ยินหรือได้ฟังเลย ส่วนเพลงนี้มีเนื้อเพลงที่ต้องแก้ไข คือ บรรทัดที่สาม เชิงชื่นรื่นสำราญ จะต้องเป็น เริงรื่นชื่นสำราญ อีกจุด เปรียบจันทรา..คราไร้หมอกควัน จะต้องเป็น ดั่งจันทรา..คราไร้หมอกควัน อันสุดท้าย มวลมนุษย์สุขสดชื่น จะต้องเป็น มวลมนุษย์จะสดชื่น เพลงนี้สามารถร้องด้วยทำนองช้าๆแบบเพลง ซานต้า ลูเซีย หรือจะร้องในทำนองสนุกๆก็ได้ครับ.
คนเมืองนอก


สุนทราภรณ์ แต่งเพลงให้ศิลปากรรวม สองเพลง แต่ไม่ได้อัด(คงเพราะต้องใช้เงินสนับสนุนหมื่นบาท(ตามคำบอกสมัยนั้น) ที่ทราบเพราะตอนเป็นน้องใหม่รุ่นพี่เคยให้ไปคัดเนื้อกับโน๊ตที่กรมประชา สัมพันธ์ (ราชดำเนิน) เข้าใจว่ายังมีเนื้อและโน๊ตอยู่ที่สมุดจดเพลงของกรมประชาสัมพันธ์ เสียดายที่ของผมถูกไฟไหม้ไปพร้อมบ้าน
ป้อม โบราณคดี(2511)

เพลงนี้ ทำนองเพลงซานตา ลูเซีย ซึ่งเป็นเพลงเดียวกับที่ครูสุรพล โทณะวณิก แต่งเป็นเพลง "ย่ำสนธยา" ให้คุณสุเทพ วงศ์กำแหงขับร้อง
ศศิธรารัตน์

No comments:

Post a Comment