เอาเป็นว่า จากคนที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลยอย่าง แล้วจะเรียนด้วยตัวเองจะเริ่มยังไงดีละเนี่ย
ซื้อมาแล้ว เล่นยังไงละเนี่ย เรื่องยากตั้งแต่ตั้งสาย
แม้จะซื้อเครื่องทูนมาด้วย ก็แค่ดีด แล้วปรับให้ได้เสียง GCEA ตามแต่ละสาย โอเค...ลองดู...
http://www.ukulelethai.com/ukulele/ukulele-tuning.html
แต่แล้วก็งงอีกว่า ถ้าจะตั้งสาย 1 ที่เป็น G แต่ดีดแล้วเป็นเสียง E ต้องหมุนปรับไปทางไหนละ ???
อันนี้ช่วยได้
http://www.ukuleles.com/SetupnCare/TenorTune.html
ตั้งสายเสร็จ ดีดยังไงอะ (คนอื่นเขาเป็นกันไหม หรือแค่เราที่ไม่รู้จริงๆ)
ค้นหา วิธีดีด เจออันนี้ก่อน
http://maysahawaii.blogspot.com/2010/02/uke-minutes-13-tremolo.html
โอ้ อย่างงี้มันมืออาชีพแล้ว หาต่อไป ไว้เก่งแล้วจะฝึกแบบนั้น
ในที่สุด ก็ได้อันนี้มาช่วยชีวิต พอให้เข้าใจว่ามีวิธีดีดหลายวิธี
http://baanukulele.com/content_detail.htm?id=380
ขั้นถัดมาคือ หัด ถืออูคูเลเล่ให้ถูกต้องครับ เป็นปัญหาที่พบบ่อยเลยครับ ถือแล้วมันจะหลุดมันจะหล่นอยู่เรื่อย ขั้นตอนนี้อาจจะดูเหมือนง่าย แต่จริง ๆ ต้องใส่ใจนิดนึงนะครับ เพราะถ้าถือแบบผิด ๆ จนติดเป็นนิสัยแล้วมันจะแก้ยาก วิธีถือที่ถูกต้องนะครับ
1. ถือ โดยใช้แขนที่สตรัม (ในกรณีนี้ สมมติว่าเป็นคนถนัดขวา ใช้มือขวาสตรัม และใช้มือซ้้ายจับคอร์ด) หนีบอูคูเลเล่ไว้ ให้อูคูเลเล่อยู่ระหว่างอก และข้อพับด้านใน แล้วให้นิ้วที่จะใช้สตรัม สามารถยืดไปได้จนถึงประมาณเฟรทที่สิบสอง ให้ทำเหมือนเรากำลังอุ้มเด็กทารกไว้ในมือ ให้รู้สึกสบาย ๆ ผ่อนคลาย ไม่ต้องถึงขั้นหนีบจนไม้แตก
2. นิ้ว ที่จะใช้สตรัม (นิ้วชี้) ก็ให้ช้ีเข้าหาตัวเอง อาจจะเอานิ้วโป้งมาช่วยทำเป็นมือจีบก็ได้ เวลาสตรัม ก็สตรัมลงตรงบริเวณที่คอกับบอดี้มันมาเจอกัน อยู่แถว ๆ เฟรทที่สิบสอง ไม่ต้องไปสตรัมตรงรูซาวน์โฮลนะครับ
3. เวลา สตรัมก็แค่บิดข้อมือขึ้นลง ลักษณะคล้ายกับเราบิดลูกบิดประตู ไม่จำเป็นต้องโยกขึ้นโยกลงทั้งแขน เพราะอูคูเลเล่ขนาดเล็ก ขอแค่ให้นิ้วเรากวาดขี้นลงให้ครอบคลุมสายทั้งสี่สายก็พอแล้ว
4. มา ถึงแขนซ้ายที่ไว้ใช้จับคอร์ด พยายามจับให้นิ้วโป้งเราอยู่ด้านหลังของคอ ปลายนิ้วโป้งชี้ตั้งฉากกับคอขึ้นมา นิ้วโป้งไม่ต้องเลยคอขึ้นมาเยอะ ขอแค่ให้ปลายอยู่เหนือคอเล็กน้อยก็พอ ถ้ามองจากด้านหน้าเข้าไป จะเห็นว่านิ้วโป้งอยู่ระหว่างนัทและเฟรทที่สาม
5. การจับคอร์ด พยายามให้นิ้วทั้งหลายอยู่ขนานไปกับเฟรท (หรือตั้งฉากกับคอนั่นเอง) อาจจะเอียงเล็กน้อย 10 - 15 องศา แต่ไม่ควรให้นิ้วเบี้ยวไปเบี้ยวมาจนเสียทรง เพราะจะเปลี่ยนคอร์ดยาก ถ้าจับถูกต้อง การเปลี่ยนคอร์ดจะดูเป็นธรรมชาติ
6. ถ้า อูคูเลเล่ที่เราเล่นเป็นขนาดใหญ่ขึ้นมาเช่น เทนเนอร์ หรือ บาริโทน อาจจะต้องใช้นั่ง แล้วให้ตัวอูคูเลเล่พักอยู่ระหว่างขา ถ้าเราเล่นในท่ายืน ก็ขอให้แน่ใจว่า มือที่่ใช้หนีบอูคูเลเล่นั้น เรากระจายแรงหนีบไปทั่วส่วนที่เป็นซาวน์บอร์ด ให้เราถือได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้อีกมือหนึ่งเข้ามาช่วยขัั้นต่อมาคือต้องคอยทูนอูคูเลเล่ให้ถูกต้อง ทูนตามแบบมาตรฐานทั่วไปก็คือ G C E A บางคนอาจจะชอบเสียงทุ้ม ก็เปลี่ยนสาย G เป็นสาย Low-G ก็ ได้ เครื่องทูนเนอร์ดิจิตอลปัจจุบันราคาไม่แพง ก็ช่วยได้เยอะครับ เราก็เรียนวิธีใช้เครื่องให้เป็น อาจจะอ่านจากคู่มือ หรือให้คนขายสอน หรือให้เพื่อนสอน หรือดูตามวีดีโอบนอินเตอร์เน็ตก็ได้
ต่อมาเราก็มาเรียนวิธีสตรัมครับ วิธีที่ง่ายที่สุดเลยคือ สตรัมลงอย่างเดียว down down down down ไปเรื่อย ๆ เหมือนเราปรบมือประกอบจังหวะ ถ้าต้องการความตื่นเต้นขึ้นมานิดนึงก็ลองเปลี่ยนเป็น สตรัมลง แล้วก็สตรัมขึ้น down up down up down up down up อย่าง ที่บอกครับ ไม่ต้องใช้แรงมาก สะบัดข้อมือให้เหมือนเราบิดลูกบิดประตู ไม่ต้องสะบัดแรง แต่ขอให้แรงพอที่นิ้วเราจะไปไม่ติดค้างอยู่ในสายก็เป็นอันใช้ได้
ต่อมาเราก็มาเรียนจับคอร์ด ให้ ลองหาคอร์ดชาร์ต ที่รวบรวมทุกคอร์ดไว้จะเป็นประโยชน์มาก หรือปัจจุบันนี้มีซอร์ฟแวร์ก็ใช้ได้เหมือนกัน แรกเริ่มก็อาจจะจับคอร์ดง่าย ๆ ก่อน เช่น C F G G7 A แล้วก็ฝึกเปลี่ยนคอร์ด อย่างเช่น จาก C ไป F ไป G7 แล้วก็กลับมาที่ C แค่นี้ก็หากินได้หลายเพลงแล้วครับ นิ้วที่ใช้จับคอร์ดก็พยายามตัดเล็บให้สั้นนิดนึง จะทำให้จับง่ายขึ้น
หลักการทั่วไปคือ นิ้วชี้ไว้กดเฟรทที่หนึ่ง นิ้วกลางไว้กดเฟรทที่สอง และนิ้วนางไว้กดเฟรทที่สาม ไล่ไปเรื่อย ๆ แบบนี้ครับ ยกตัวอย่างเช่น คอร์ด C เรา ต้องกดสายล่างสุด เฟรทที่สาม เราก็ต้องใช้นิ้วนางกด เพราะนิ้วนางนั้นประจำการอยู่ที่เฟรทที่สาม ตารางคอร์ดที่มีหมายเลขนิ้วมือก็จะช่วยได้เยอะในส่วนนี้ เพราะจะระบุไว้เลยว่าควรจะใช้นิ้วไหน กดตรงไหน เวลากดก็ให้ใช้ปลายนิ้วกดลงไปตรง ๆ
ต่อมาเราก็เรียน Vamp หรือที่เค้าเรียกว่าเป็นชุดของคอร์ดที่ใช้ร่วมกันอยู่บ่อย ๆ เช่น เพลงฮาวายเอี้ยน ก็จะมี Vamp แบบนี้ C D7 G7 C หรือ G A7 D7 G ถ้าเพลงไทยสากลทั่วไปก็อาจจะเป็น C Am Dm G วนไปวนมาอย่างนี้เป็นต้น ทีนี้ถ้าเริ่มเบื่อที่จะสตรัม down up วนไปวนมา ก็เรียนวิธีสตรัมแบบใหม่ ๆ เช่นการทำ Chunk หรือ Chop หรือการทำเสียงให้จังหวะ หรือการ Roll นิ้ว เพื่อเพิ่มลูกเล่นให้กับการสตรัมของเรา หรือแม้แต่การหยุดจังหวะ ก็นำมาประกอบได้ จังหวะใหม่ของเราก็อาจจะเป็นอย่างนี้
D=down, U=up, (space)=rest, X=chop
DU
DDUUD
DXUUD
XDUUD
D UX XUUD DU
DDDDU
ถ้าเบื่อไม่อยากจะสตรัม ก็ลองมาฝึกการพิกกิ้ง (picking) หรือ ที่เค้าชอบเรียกกันว่า การเกา อาจจะฟังดูเหมือนยาก แต่จริง ๆ ไม่ยาก เพราะเราค่อย ๆ ดีด ทีละเส้น (ไม่ยากเกินความสามารถแน่นอน) เราก็หา tab ง่าย ๆ มาลองแกะ ลองเกาดู อันนี้ก็ต้องมาเรียนวิธีการอ่านแท็บ
A |-------------2-3-
E |-2-3-2-3-1-3-----
C |-----------------
G |-----------------
การอ่านแท็บ ก็ไม่ยาก บรรทัดทั้งสี่บรรทัด ก็แทนสายทั้งสี่สาย (มีตัวหนังสือกำกับไว้ด้านข้าง) ตัวเลขที่อยู่บนเส้น ก็คือช่องของเฟรท ตัวอย่างด้านบนก็คือ ดีดสาย E เฟรทที่ 2 แล้วก็ดีดเส้นเดิม สาย E เฟรทที่ 3 กลับไปเฟรทที่ 2, 3, 1, 3
เปลี่ยนไปดีดสาย A เฟรทที่ 2 แล้วก็สาย A เฟรทที่ 3 อันนี้เค้าเรียกว่า C vamp จะลองเล่นดูกับคอร์ด D7// G7// C//// ก็ได้ หรือจะเอาเพลง Happy Birthday มาลองฝึกก่อนก็ได้ เพราะง่ายดี น่าจะร้องกันได้ทุกคน ใช้ได้จริงในงานวันเกิด
A--------------- Happy Birthday to you
E---------1-0---
C-0-0-2-0-------
G---------------
A--------------- Happy Birthday to you
E---------3-1---
C-0-0-2-0-------
G---------------
A-----3-0------- Happy Birthday (ใส่ชื่อเจ้าของวันเกิดเข้าไปตรงท่อนนี้)
E---------1-0---
C-0-0---------2-
G---------------
A--------------- Happy Birthday to you
E-6-6-5-1-3-1---
C---------------
G---------------
เคล็ดลับสำคัญคือ พยายามหาเพลงที่เราชอบฟัง ชอบร้อง มาหัดเล่น จะทำให้มีกำลังใจในการเล่นมากขึ้น เลือกเพลงที่มีคอร์ดอยู่ประมาณ 4-5 คอร์ดที่ไม่ยากจนเกินไป เอา เท่านี้ก่อนก็เป็นอันว่าสำเร็จการศึกษาอูคูเลเล่่ขั้นต้น พร้อมที่จะก้าวไปสู่ขั้นกลางครับ แล้วไว้มาต่อคราวหน้านะครับ .... เมษาฮาวาย ว่าง ๆ ก็อย่าลืมเข้าไปเยี่ยมชมเว็บ www.BaanUkulele.com นะครับ เราเป็นเพื่อนกันกับ UkuleleThai
ข้อมูลส่วนหนึ่งจาก
http://www.ukeschool.com/ukulele/lessons/how_to_play.html
http://www.ukeschool.com/ukulele/lessons/how_to_hold.html
http://liveukulele.com/lessons/for-beginners/