Sunday 17 April 2011

Ukulele part1

ชีวิตการเรียนแม้จะหนักแค่ไหน  ก็มีวิธีแบ่งมาให้ตัวเองทำอะไรที่อยากทำเสมอ  ช่วงนี้นึกอยากเรียน เล่น ukulele ขึ้นมา ก็จัดการสั่งซื้อออนไลน์ แบบถูกๆมาลองดู   เคยอยากเล่นกีตาร์ แต่ก็ไม่มีโอกาส พอได้เห็นเจ้ากีตาร์ตัวน้อย อย่าง อาคูเลเล่ น่ารัก และ ราคาถูกพอจะเอามาลองเล่น ก็เลยเอาซะหน่อย


เอาเป็นว่า จากคนที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลยอย่าง แล้วจะเรียนด้วยตัวเองจะเริ่มยังไงดีละเนี่ย  


ซื้อมาแล้ว เล่นยังไงละเนี่ย  เรื่องยากตั้งแต่ตั้งสาย


แม้จะซื้อเครื่องทูนมาด้วย ก็แค่ดีด แล้วปรับให้ได้เสียง GCEA ตามแต่ละสาย  โอเค...ลองดู...
http://www.ukulelethai.com/ukulele/ukulele-tuning.html
แต่แล้วก็งงอีกว่า ถ้าจะตั้งสาย 1 ที่เป็น G แต่ดีดแล้วเป็นเสียง E   ต้องหมุนปรับไปทางไหนละ ???
อันนี้ช่วยได้ 
http://www.ukuleles.com/SetupnCare/TenorTune.html


ตั้งสายเสร็จ ดีดยังไงอะ (คนอื่นเขาเป็นกันไหม หรือแค่เราที่ไม่รู้จริงๆ)
ค้นหา วิธีดีด เจออันนี้ก่อน
http://maysahawaii.blogspot.com/2010/02/uke-minutes-13-tremolo.html


โอ้ อย่างงี้มันมืออาชีพแล้ว หาต่อไป ไว้เก่งแล้วจะฝึกแบบนั้น
ในที่สุด ก็ได้อันนี้มาช่วยชีวิต พอให้เข้าใจว่ามีวิธีดีดหลายวิธี 
http://baanukulele.com/content_detail.htm?id=380




ขั้นถัดมาคือ หัด ถืออูคูเลเล่ให้ถูกต้องครับ เป็นปัญหาที่พบบ่อยเลยครับ ถือแล้วมันจะหลุดมันจะหล่นอยู่เรื่อย ขั้นตอนนี้อาจจะดูเหมือนง่าย แต่จริง ๆ ต้องใส่ใจนิดนึงนะครับ เพราะถ้าถือแบบผิด ๆ จนติดเป็นนิสัยแล้วมันจะแก้ยาก วิธีถือที่ถูกต้องนะครับ
1. ถือ โดยใช้แขนที่สตรัม (ในกรณีนี้ สมมติว่าเป็นคนถนัดขวา ใช้มือขวาสตรัม และใช้มือซ้้ายจับคอร์ด) หนีบอูคูเลเล่ไว้ ให้อูคูเลเล่อยู่ระหว่างอก และข้อพับด้านใน แล้วให้นิ้วที่จะใช้สตรัม สามารถยืดไปได้จนถึงประมาณเฟรทที่สิบสอง ให้ทำเหมือนเรากำลังอุ้มเด็กทารกไว้ในมือ ให้รู้สึกสบาย ๆ ผ่อนคลาย ไม่ต้องถึงขั้นหนีบจนไม้แตก
2. นิ้ว ที่จะใช้สตรัม (นิ้วชี้) ก็ให้ช้ีเข้าหาตัวเอง อาจจะเอานิ้วโป้งมาช่วยทำเป็นมือจีบก็ได้ เวลาสตรัม ก็สตรัมลงตรงบริเวณที่คอกับบอดี้มันมาเจอกัน อยู่แถว ๆ เฟรทที่สิบสอง ไม่ต้องไปสตรัมตรงรูซาวน์โฮลนะครับ
3. เวลา สตรัมก็แค่บิดข้อมือขึ้นลง ลักษณะคล้ายกับเราบิดลูกบิดประตู ไม่จำเป็นต้องโยกขึ้นโยกลงทั้งแขน เพราะอูคูเลเล่ขนาดเล็ก ขอแค่ให้นิ้วเรากวาดขี้นลงให้ครอบคลุมสายทั้งสี่สายก็พอแล้ว
4. มา ถึงแขนซ้ายที่ไว้ใช้จับคอร์ด พยายามจับให้นิ้วโป้งเราอยู่ด้านหลังของคอ ปลายนิ้วโป้งชี้ตั้งฉากกับคอขึ้นมา นิ้วโป้งไม่ต้องเลยคอขึ้นมาเยอะ ขอแค่ให้ปลายอยู่เหนือคอเล็กน้อยก็พอ ถ้ามองจากด้านหน้าเข้าไป จะเห็นว่านิ้วโป้งอยู่ระหว่างนัทและเฟรทที่สาม
5. การจับคอร์ด พยายามให้นิ้วทั้งหลายอยู่ขนานไปกับเฟรท (หรือตั้งฉากกับคอนั่นเอง) อาจจะเอียงเล็กน้อย 10 - 15 องศา แต่ไม่ควรให้นิ้วเบี้ยวไปเบี้ยวมาจนเสียทรง เพราะจะเปลี่ยนคอร์ดยาก ถ้าจับถูกต้อง การเปลี่ยนคอร์ดจะดูเป็นธรรมชาติ
6. ถ้า อูคูเลเล่ที่เราเล่นเป็นขนาดใหญ่ขึ้นมาเช่น เทนเนอร์ หรือ บาริโทน อาจจะต้องใช้นั่ง แล้วให้ตัวอูคูเลเล่พักอยู่ระหว่างขา ถ้าเราเล่นในท่ายืน ก็ขอให้แน่ใจว่า มือที่่ใช้หนีบอูคูเลเล่นั้น เรากระจายแรงหนีบไปทั่วส่วนที่เป็นซาวน์บอร์ด ให้เราถือได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้อีกมือหนึ่งเข้ามาช่วย


ขัั้นต่อมาคือต้องคอยทูนอูคูเลเล่ให้ถูกต้อง ทูนตามแบบมาตรฐานทั่วไปก็คือ G C E A บางคนอาจจะชอบเสียงทุ้ม ก็เปลี่ยนสาย G เป็นสาย Low-G ก็ ได้ เครื่องทูนเนอร์ดิจิตอลปัจจุบันราคาไม่แพง ก็ช่วยได้เยอะครับ เราก็เรียนวิธีใช้เครื่องให้เป็น อาจจะอ่านจากคู่มือ หรือให้คนขายสอน หรือให้เพื่อนสอน หรือดูตามวีดีโอบนอินเตอร์เน็ตก็ได้ 
ต่อมาเราก็มาเรียนวิธีสตรัมครับ วิธีที่ง่ายที่สุดเลยคือ สตรัมลงอย่างเดียว down down down down ไปเรื่อย ๆ เหมือนเราปรบมือประกอบจังหวะ ถ้าต้องการความตื่นเต้นขึ้นมานิดนึงก็ลองเปลี่ยนเป็น สตรัมลง แล้วก็สตรัมขึ้น down up down up down up down up อย่าง ที่บอกครับ ไม่ต้องใช้แรงมาก สะบัดข้อมือให้เหมือนเราบิดลูกบิดประตู ไม่ต้องสะบัดแรง แต่ขอให้แรงพอที่นิ้วเราจะไปไม่ติดค้างอยู่ในสายก็เป็นอันใช้ได้
ต่อมาเราก็มาเรียนจับคอร์ด ให้ ลองหาคอร์ดชาร์ต ที่รวบรวมทุกคอร์ดไว้จะเป็นประโยชน์มาก หรือปัจจุบันนี้มีซอร์ฟแวร์ก็ใช้ได้เหมือนกัน แรกเริ่มก็อาจจะจับคอร์ดง่าย ๆ ก่อน เช่น C F G G7 A แล้วก็ฝึกเปลี่ยนคอร์ด อย่างเช่น จาก C ไป F ไป G7 แล้วก็กลับมาที่ C แค่นี้ก็หากินได้หลายเพลงแล้วครับ นิ้วที่ใช้จับคอร์ดก็พยายามตัดเล็บให้สั้นนิดนึง จะทำให้จับง่ายขึ้น 
หลักการทั่วไปคือ นิ้วชี้ไว้กดเฟรทที่หนึ่ง นิ้วกลางไว้กดเฟรทที่สอง และนิ้วนางไว้กดเฟรทที่สาม ไล่ไปเรื่อย ๆ แบบนี้ครับ ยกตัวอย่างเช่น คอร์ด C เรา ต้องกดสายล่างสุด เฟรทที่สาม เราก็ต้องใช้นิ้วนางกด เพราะนิ้วนางนั้นประจำการอยู่ที่เฟรทที่สาม ตารางคอร์ดที่มีหมายเลขนิ้วมือก็จะช่วยได้เยอะในส่วนนี้ เพราะจะระบุไว้เลยว่าควรจะใช้นิ้วไหน กดตรงไหน เวลากดก็ให้ใช้ปลายนิ้วกดลงไปตรง ๆ
ต่อมาเราก็เรียน Vamp หรือที่เค้าเรียกว่าเป็นชุดของคอร์ดที่ใช้ร่วมกันอยู่บ่อย ๆ เช่น เพลงฮาวายเอี้ยน ก็จะมี Vamp แบบนี้ C D7 G7 C หรือ G A7 D7 G ถ้าเพลงไทยสากลทั่วไปก็อาจจะเป็น C Am Dm G วนไปวนมาอย่างนี้เป็นต้น  ทีนี้ถ้าเริ่มเบื่อที่จะสตรัม down up วนไปวนมา ก็เรียนวิธีสตรัมแบบใหม่ ๆ เช่นการทำ Chunk หรือ Chop หรือการทำเสียงให้จังหวะ หรือการ Roll นิ้ว เพื่อเพิ่มลูกเล่นให้กับการสตรัมของเรา หรือแม้แต่การหยุดจังหวะ ก็นำมาประกอบได้ จังหวะใหม่ของเราก็อาจจะเป็นอย่างนี้
D=down, U=up, (space)=rest, X=chop
DU
DDUUD
DXUUD
XDUUD
D UX XUUD DU
DDDDU
ถ้าเบื่อไม่อยากจะสตรัม ก็ลองมาฝึกการพิกกิ้ง (picking) หรือ ที่เค้าชอบเรียกกันว่า การเกา อาจจะฟังดูเหมือนยาก แต่จริง ๆ ไม่ยาก เพราะเราค่อย ๆ ดีด ทีละเส้น (ไม่ยากเกินความสามารถแน่นอน) เราก็หา tab ง่าย ๆ มาลองแกะ ลองเกาดู อันนี้ก็ต้องมาเรียนวิธีการอ่านแท็บ 
A |-------------2-3-
E |-2-3-2-3-1-3-----
C |-----------------
G |-----------------
การอ่านแท็บ ก็ไม่ยาก บรรทัดทั้งสี่บรรทัด ก็แทนสายทั้งสี่สาย (มีตัวหนังสือกำกับไว้ด้านข้าง) ตัวเลขที่อยู่บนเส้น ก็คือช่องของเฟรท  ตัวอย่างด้านบนก็คือ ดีดสาย E เฟรทที่ 2 แล้วก็ดีดเส้นเดิม สาย E เฟรทที่ 3 กลับไปเฟรทที่ 2, 3, 1, 3 
เปลี่ยนไปดีดสาย A เฟรทที่ 2 แล้วก็สาย A เฟรทที่ 3 อันนี้เค้าเรียกว่า C vamp จะลองเล่นดูกับคอร์ด   D7// G7// C//// ก็ได้ หรือจะเอาเพลง Happy Birthday มาลองฝึกก่อนก็ได้ เพราะง่ายดี น่าจะร้องกันได้ทุกคน ใช้ได้จริงในงานวันเกิด
A---------------     Happy Birthday to you
E---------1-0---
C-0-0-2-0-------
G---------------

A---------------     Happy Birthday to you

E---------3-1---
C-0-0-2-0-------
G---------------

A-----3-0-------     Happy Birthday (ใส่ชื่อเจ้าของวันเกิดเข้าไปตรงท่อนนี้)

E---------1-0---
C-0-0---------2-
G---------------

A---------------     Happy Birthday to you

E-6-6-5-1-3-1---
C---------------
G---------------
เคล็ดลับสำคัญคือ พยายามหาเพลงที่เราชอบฟัง ชอบร้อง มาหัดเล่น จะทำให้มีกำลังใจในการเล่นมากขึ้น เลือกเพลงที่มีคอร์ดอยู่ประมาณ 4-5 คอร์ดที่ไม่ยากจนเกินไป เอา เท่านี้ก่อนก็เป็นอันว่าสำเร็จการศึกษาอูคูเลเล่่ขั้นต้น พร้อมที่จะก้าวไปสู่ขั้นกลางครับ แล้วไว้มาต่อคราวหน้านะครับ .... เมษาฮาวาย  ว่าง ๆ ก็อย่าลืมเข้าไปเยี่ยมชมเว็บ www.BaanUkulele.com นะครับ เราเป็นเพื่อนกันกับ UkuleleThai

ข้อมูลส่วนหนึ่งจาก

http://www.ukeschool.com/ukulele/lessons/how_to_play.html 
http://www.ukeschool.com/ukulele/lessons/how_to_hold.html
http://liveukulele.com/lessons/for-beginners/